วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ลายสือไทย คือ?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินนะค่ะ
กับคำว่า...ลายสือไทย... และหลายคนก็คงจะสงสัยว่า 
คำว่า ลายสือไทย มันมีที่มาที่ไปยังไง ถึงได้ชื่อว่า ลายสือไทย
วันนี้มีคำตอบมาเฉลยค่ะ


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ลายสือไทย หรือตัวหนังสือไทยขึ้น
เมื่อมหาศักราช 1205 (พุทธศักราช 1826)

โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด และอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญ
แล้วคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ ให้มีสระ และวรรณยุกต์ ให้พอใช้ได้กับภาษาไทย
และทรงเรียกอักษรดังกล่าวว่า.. "ลายสือไทย"

เริ่มต้นเมื่อ.... >>

ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ
ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น

เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ
ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทย
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย
ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิม ให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด

อักษรมอญ และอักษรขอม ที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้น ล้วนแปลงรูปมาจากอักษรในกลุ่มอักษรพราหมี
ของพวกพราหมณ์ ซึ่งรับแบบมาจาก "อักษรฟินิเชีย" อีกชั้นหนึ่ง
อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด !!
และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชีย และยุโรป o_O !!

ในราว พ.ศ. 1826
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น
ซึ่งได้เค้ารูปจาก อักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญ และเขมรที่มีอยู่เดิม
(ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น)
ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม
แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ...
ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900
มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย
โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว "ญ" ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้
คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร

ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223
ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้น แต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม
มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว "ฎ" และ "ธ" ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่า..
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษร และการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด !!



จากข้อมูลดังกล่าวก็จะพอสรุปได้นะค่ะว่า คำว่า ลายสือไทย มีที่มาที่ไปยังไง

3 ความคิดเห็น: