วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

บล็อกที่อยากจะแนะนำ

ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย

นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมา

และเป็นเว็บที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย โดย atinno.blogspot.com

โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

 ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




                โครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชา  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางทางการศึกษา  ซึ่งได้ไปศึกษาดูงาน  ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่ง สถาบันแห่งนี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน   เริ่มตั้งแต่การดำรงชีวิตของชาวอีสาน  ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม  ที่พักอาศัย  ตลอดจนอุปกรณ์ในการทำมาหากินของชาวอีสาน  เราได้เก็บรวบรวมรายละเอียดบันทึกไว้ในเล่มโครงการเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาประเพณีท้องถิ่นต่อไป

สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ คลิกที่นี่


จากลายสือสู่อักษรไทย



              อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง
ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน
วิวัฒนาการ

               ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด
อักษรไทย

พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
วรรค กะ - ก ไก่ ข ไข่ ฃ ขวด* ค ควาย ฅ คน* ฆ ระฆัง ง งู
วรรค จะ - จ จาน ฉ ฉิ่ง ช ช้าง ซ โซ่ ฌ เฌอ ญ หญิง
วรรค ฏะ - ฎ ชฎา ฏ ปฏัก ฐ ฐาน ฑ มณโฑ ฒ ผู้เฒ่า ณ เณร
วรรค ตะ - ด เด็ก ต เต่า ถ ถุง ท ทหาร ธ ธง น หนู
วรรค ปะ - บ ใบไม้ ป ปลา ผ ผึ้ง ฝ ฝา พ พาน ฟ ฟัน ภ สำเภา ม ม้า
เศษวรรค - ย ยักษ์ ร เรือ ล ลิง ว แหวน ศ ศาลา ษ ฤๅษี ส เสือ ห หีบ ฬ จุฬา อ อ่าง ฮ นกฮูก
* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด


พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

อักษสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ


สระ
สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง :-

ะ วิสรรชนีย์ นมนางทั้งคู่
 ั ไม้หันอากาศ หางกังหัน ไม้ผัด
 ็ ไม้ไต่คู้ ไม้ตายคู้
า ลากข้าง
 ิ พินทุ์อิ
 ่ ฝนทอง
 ํ นิคหิต นฤคหิต หยาดน้ำค้าง
" ฟันหนู, มูสิกทันต์
 ุ ตีนเหยียด ลากตีน
 ู ตีนคู้
เ ไม้หน้า
ใ ไม้ม้วน
ไ ไม้มลาย
โ ไม้โอ
อ ตัวออ
ย ตัวยอ
ว ตัววอ
ฤ ตัวรึ
ฤๅ ตัวรือ
ฦ ตัวลึ
ฦๅ ตัวลือ


วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง

คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม


รูปวรรณยุกต์

 ่ ไม้เอก
 ้ ไม้โท
 ๊ ไม้ตรี
 ๋ ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์

เสียงสามัญ
เสียงเอก
เสียงโท
เสียงตรี
เสียงจัตวา

ตัวเลข
ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้

๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่นๆ


เครื่องหมายวรรคตอน
. มหัพภาค หรือ จุด
, จุลภาค หรือ ลูกน้ำ
; อัฒภาค
: ทวิภาค หรือ ต่อ
:- วิภัชภาค
- ยัติภังค์
— ยัติภาค
() นขลิขิต หรือ วงเล็บ
[] วงเล็บเหลี่ยม
{} วงเล็บปีกกา
? ปรัศนี
! อัศเจรีย์
“” อัญประกาศ
... จุดไข่ปลา
_ _ _ เส้นประ
" บุพสัญญา
/ ทับ
ๆ ไม้ยมก
ฯ ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย
ฯลฯ ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่
๏ ฟองมัน หรือ ตาไก่
๏" ฟองมันฟันหนู หรือ ฟันหนูฟองมัน
ฯ อังคั่นเดี่ยว คั่นเดี่ยว หรือ คั่น
๚ อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่
๚ะ อังคั่นวิสรรชนีย์
๛ โคมูตร
 ๎ ยามักการ
 ์ ทัณฑฆาต (ตัวการันต์ คือพยัญชนะที่ถูกทัณฑฆาตกำกับ เช่น ก์ เรียกว่า กอการันต์)
 ฺ พินทุ
┼ ตีนครุ หรือ ตีนกา
มหัตถสัญญา (ย่อหน้า)
สัญประกาศ (ขีดเส้นใต้

มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่?


           เคยมีผู้เขียนบรรยายไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2510 ว่า ถ้า ลายสือ ไทยนี้บ่มี หมายความว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึง เมืองสุโขทัย 14 ครั้ง ทุกครั้ง ใช้คำ เมืองสุโขทัยนี้ จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงมาตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นมาใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า นี้เป็นแต่เพียงชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้นที่ว่า ลายสือ ไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่ามีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว      แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหม เกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลาใกล้เคียงกับการก่อกำเนิดตัวหนังสือ ในสุโขทัยก็เป็นได้ 

           ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี คำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ในลายสือ หรือรากศัพท์เดียวกับ จื่อ ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจำ เช่นได้จื่อจำไว้   บูราณยีบอกประวัติผู้ครองราชย์ มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งตำนานเป็นเทพนิยายลงมา ศักราชแรกที่กล่าวถึงคือ พ.ศ. 1733 ส่วนไทยเผ่าอื่นเริ่มมีประวัติศาสตร์เป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่าคนไทยอาหม   หากเก่ากว่านั้นขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือ หรือตำนานเก่าๆ ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก   ประวัติศาสตร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้   ผู้เขียนจึงเห็นว่า ตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราวย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน

           อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมดหรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่ หรือสิ่งอื่นที่ผุพังได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใดที่หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป ทำไมจึงไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใดๆ ทั้งสิ้น

   ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปใน ล้านนา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 62 วัดพระยีนว่า พระมหาสุมนเถร นำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปในล้านนาเมื่อ พ.ศ.1912 และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. 1914 ต่อมาตัวหนังสือสุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่าง และอักขระวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ 


           เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขาม ซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่กว่า 10 หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. 1994 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนตัวหนังสือสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1910-1940 อยู่หลักหนึ่ง 

           ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถ้ำนางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. 1890-1911) ส่วนจารึกประเทศลาวหลักอื่นที่เป็นภาษาไทยไม่เก่าไปกว่า พ.ศ. 2030 เลย
         

           ไทขาว ไทดำ ไทแดง เจ้าไท ในตังเกี๋ย ผู้ไทในญวน และลาวปัจจุบันนี้ ยังใช้ตัวอักษรที่กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
           ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทย เข้าไปใช้จนแพร่หลายกว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากของที่เคยชินแล้วทำได้ยากมาก เป็นต้นว่า เราเคยเขียนคำว่า "น้ำ" บัดนี้ออกเสียงเป็น "น้าม" แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรงกับเสียง
           ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครอง ก็จำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น ก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น "จ้วง" คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือจีนมาใช้ คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน ส่วนพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิม หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิม หรือทรงดัดแปลงจากนั้นบ้างเล็กน้อยแทนที่จะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงนั้นมีเค้าเงื่อนอยู่ในพงศาวดารเหนือว่าพ่อขุนรามฯ  ได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงไทยยกเว้นแต่จีนเพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพ ผิดกับหลักการเขียนเป็นรูปพยัญชนะและสระแบบของไทย รูปอักษรของพ่อขุนรามคำแหงคล้ายตัวหนังสือลังกา บังคลาเทศ ขอม และ เทวนาครี ฯลฯ เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม แต่หันไปทางเดี่ยวกับตัวอังษรลังกาที่มีอยู่ก่อนแล้ว
           สมัยพ่อขุนรามคำแหงยังไม่มีไม้หันอากาศ แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรคเดียวกันเขียนติด กัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ แทน อัฏฐ
 


           พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนึ่งคือ ไทยอาหมและไทยคำที่ (ขำตี้) ออกเสียงคำ อัน คล้ายกับคำ อาน แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียงคำ อัก-อาก อัด-อาด อับ-อาบ เป็นคู่ๆ  กันเหมือนกับตัวหนังสือของเรา โดยออกเสียงคำต้นสั้นกว่าคำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า อัว คือ อาว ที่เสียงสระสั้นลงน่าจะออกเสียงเป็น เอา แต่พ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ อวว (คือ อัว) เป็นสระ อัว แทนที่จะเป็น สระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้น โดยมิได้ทรงทราบว่าตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแลัว
           พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษรมอญมาใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียงกัน ดังตัวอย่างตัวอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. 1919 
           จ้วง คนไทยในกวางสีประเทศจีนใช้ตัวหนังสือจีนเขียนภาษาจ้วง แสดงว่าเมื่อสุโขทัยและจ้วงแยกจากกัน ยังไม่มีตัวอักษรแบบ กข ใช้ เพราะถ้ามีตัวอักษรไทยเดิมอยู่ จ้วงคงไม่หันไปใช้ตัวหนังสือจีน ซึ่งใช้เรียนมากกว่าตัวหนังสือไทยเป็นสิบๆ ปี
           ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขี้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยเพิ่งจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึกหลายท่าน เชื่อว่า รูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะเวลานานทีเดียว

 




วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ลายสือไทย คือ?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินนะค่ะ
กับคำว่า...ลายสือไทย... และหลายคนก็คงจะสงสัยว่า 
คำว่า ลายสือไทย มันมีที่มาที่ไปยังไง ถึงได้ชื่อว่า ลายสือไทย
วันนี้มีคำตอบมาเฉลยค่ะ


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ลายสือไทย หรือตัวหนังสือไทยขึ้น
เมื่อมหาศักราช 1205 (พุทธศักราช 1826)

โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด และอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญ
แล้วคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ ให้มีสระ และวรรณยุกต์ ให้พอใช้ได้กับภาษาไทย
และทรงเรียกอักษรดังกล่าวว่า.. "ลายสือไทย"

เริ่มต้นเมื่อ.... >>

ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ
ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น

เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ
ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทย
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย
ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิม ให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด

อักษรมอญ และอักษรขอม ที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้น ล้วนแปลงรูปมาจากอักษรในกลุ่มอักษรพราหมี
ของพวกพราหมณ์ ซึ่งรับแบบมาจาก "อักษรฟินิเชีย" อีกชั้นหนึ่ง
อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด !!
และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชีย และยุโรป o_O !!

ในราว พ.ศ. 1826
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น
ซึ่งได้เค้ารูปจาก อักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญ และเขมรที่มีอยู่เดิม
(ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น)
ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม
แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ...
ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900
มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย
โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว "ญ" ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้
คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร

ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223
ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้น แต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม
มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว "ฎ" และ "ธ" ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่า..
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษร และการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด !!



จากข้อมูลดังกล่าวก็จะพอสรุปได้นะค่ะว่า คำว่า ลายสือไทย มีที่มาที่ไปยังไง

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปสระ วรรณยุกต์และตัวเลขลายสือไทย

สระ







วรรณยุกต์และตัวเลข





ตารางการเปรียบเทียบตัวเลขสมัยต่างๆ





อักขรวิธีลายสือไทย


อักขรวิธีของลายสือไทย

          การวางสระไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะต้น โดยวางไว้ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะ (ไม่มีสระวางบนและล่างตัวพยัญชนะ) ซึ่งมีอักขรวิธีต่างกับอักษรไทยสมัยอื่นๆ และอักษรของเพื่อนบ้าน คือ อักษรของ อักษรมอญ รวมทั้งอักษรล้านนา และอักษรตัวธรรมของอีสาน จึงถูกกล่าวหาว่าลายสือไทยนั้นวางสระพิสดาร ผ่าเหล่าผ่ากอ ไม่เหมือนกับอักษรต้นแบบและอักษรเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่พัฒนามาจากอักษรอินเดียใต้ ที่เรียกว่า อักษรปัลลวะ หรือ อักษรคฤนถ์

          นักวิชาการหัวก้าวหน้าจึงสรุปว่า ลายสือไทยมีอักขรวิธีเหมือนอักษรฝรั่งที่ปัญญาชนไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ เพิ่งจะพบเห็น

          ฉะนั้นจะอยากจะอธิบายตัวอักษรและอักขรวิธีในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ถูกกล่าวหาว่ามีอักขรวิธีพิสดาร ผ่าเหล่าผ่ากอ โดยเฉพาะวางสระไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะซึ่งเป็นข้อพิรุธฉกรรจ์ที่สุดของศิลาจารึกหลักที่ ๑ และเป็นหลักฐานที่จะโน้มน้าวให้คนทั่วไปเชื่อเถือว่า เป็นอักษรไทยที่ผิดแบบแผน ที่วางสระต่างกับอักษรสมัยพระเจ้าลิไทและอักษรต้นแบบอื่นๆ ซึ่งมีอักขรวิธีแนวเดียวกัน คือวางสระไว้รอบพยัญชนะตันทั้งข้างหน้าข้างหลัง ข้างบนข้างล่าง แต่อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงกลับวางสระไว้หน้าและหลังพยัญชนะต้นบรรทัดเดียวกัน
คือ เหมือนอักษร ฝรั่ง หรือ อักษรโรมัน

          เรื่องอักขรวิธีของลายสือไทยที่ไม่ตรงกับอักษรต้นแบบคือ อักษรมอญ โบราญและขอมโบราณนั้น ความเป็นจริงแล้วถ้าเราศึกษาระบบอักขรวิธีอักษรต้นแบบทั้งสองจะพบว่ามีรูปสระ ๒ ชนิด และมีระบบการใช้แตกต่างกันคือ สระจม (รูปร่างและวิธีใช้เหมือนสระไทยปัจจุบัน และสมัยพระเจ้าลิไท) และสระลอย (ใช้ระบบเดียวกับสระพ่อขุนรามคำแหง) ซึ่งอาจจะอธิบายว่า สมัยพ่อขุนรามคำแหงเลือกใช้สระลอยแบบเดียว และนำมาใช้เป็นสระจมด้วยจึงต้องวางไว้บนบรรทัด เดียวกันกับพยัญชนะตามอักษรต้นแบบ ดังจะอธิบายต่อไปนี้ โดยใช้อักษรขอมเป็นตัวอย่าง และเลือกเฉพาะสระที่เป็นปัญหา

          ๑. สระสมัยพ่อขุนรามคำแหงมี ๒๐ ตัว วางไว้หน้าและหลังพยัญชนะ ดังนี้
              ๑.๑ วางสระอยู่หน้าพยัญชนะ ๑๐ ตัว คือ อิ อี อึ อื อุ อู เอ แอ โ ใ ไ
              ๑.๒ วางสระไว้หลังพยัญชนะ ๕ ตัว คือ อะ อา อำ อัว ออ
              ๑.๓ วางสระไว้หน้าส่วนหนึ่ง และหลังส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น รูปประสมของสระในข้อที่ ๑ และ ๒ จำนวน ๕ คือ (แอะ) (เอีย)
(เอือ) (เออ) (เอา)





          หากพิจารณารูปสัณฐานแล้ว พบว่ามีแปลกปลอมกว่าสระไทย (สมัยพระยาลิไท และปัจจุบัน) เพียง ๕ รูป ที่เป็นตัวปัญหา ซึ่งสระทั้ง ๕ รูป อักขรวิธีไทยปัจจุบัน วางสระไว้บนพยัญชนะ ๓ รูป (อิ อี อึ/อื) และวางไว้ล่างพยัญชนะ ๒ รูป คือ อุ อู

          สระทั้ง ๕ รูปนี้ ในอักษรขอมและมอญจะมีรูปสระจมและสระลอย สระจมจะวางไว้บนและล่าง พยัญชนะ บนบรรทัดเดียวกัน ฉะนั้นพ่อขุนรามคำแหงได้ปรับเปลี่ยน รูปสระทั้ง ๕ ตัว ให้สามารถวางไว้บนบรรทัด ดังตารางที่ ๒


ตารางที่ ๒



ตารางที่ ๒

          ฉะนั้นจะเห็นว่าสระที่มีปัญหาเพียง ๕ รูปนั้น พ่อ ขุนรามคำแหงนำมาไว้หน้าพยัญชนะเหมือนกับสระลอยเขมร (สระมอญ มีสระจม และสระลอย เช่นเดียวกับเขมร) เท่านั้น (หากรวมกับรูปสระประสมอีก ๒ รูป คือ เอีย และ เอือ เป็น ๗ รูป) อื่นๆ นั้นตรงกับสระสมัยพระยาลิไทและสระไทยปัจจุบัน

          ในกรณีนี้อาจจะสรุปได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปสระเพียง ๕ รูป (รวมกับสระประสมอีก ๒ รูป รวมเป็น ๗ รูป) โดยยึดแบบแผนจากสระลอยของเขมรและอักษรมอญ แต่เราดูเหมือนว่าแตกต่างไปมาก เพราะเหตุว่าภาษาไทยมีเสียงสระ ๕ รูป และสระประสมกับ อี อื  จำนวนมาก จึงดูว่าสระของเราวางไว้บน-ล่าง จำนวนมาก หากเราพิจารณาจำนวนแล้ว สระไทยปัจจุบันวางไว้หน้าพยัญชนะต้นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

          ฉะนั้นหากนักวิชาการไทยได้ศึกษาด้านอักษร (อักขรวิทยา) กันอย่างจริงจัง จะพบว่าตัวอักษรมีการคลี่คลายรูปสัณฐานไปทุกยุคทุกสมัย และเข้าใจที่มาของอักษรพ่อขุนรามคำแหง (ลายสือไทย) จะไม่เห็นว่าอักขรวิธีของลายสือไทยพิสดารแต่อย่างใด

สระสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ตกค้างอยู่ในอักขรวิธีสมัยพระยาลิไท

          จากการศึกษาศิลาจารึกสมัยพระยาลิไท และจารึกสมัยสุโขทัยที่สร้างสมัยหลังๆ พบว่าได้มีอักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงปะปนอยู่จำนวนหนึ่ง (หลายหลัก หลายแหล่ง) แสดงว่านักปราชญ์สมัยหลังพ่อขุนรามคำแหงยังใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงยังใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงจนเคยชิน
เมื่อพบคำที่ไม่ค่อยจะใช้ บ่อยนักโดยเฉพาะคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ มักจะเขียนด้วยสระสมัยพ่อขุนรามคำแหง แสดงให้เห็นว่านักปราชญ์เหล่านั้นเคยใช้อักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว  หากอักขรวิธีแบบลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงไม่เคยใช้กันมาก่อน ปัญญาชนไทยสมัยพระยาลิไทจะเขียนหนังสือผิดพลาดโดยใช้รูปสระของลายสือไทยได้ถูกต้องทุกแห่งอย่างไร
นั่นคืออักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงเคยใช้ก่อนสมัยพระลิไท ตัวอย่างเช่น

จารึกหลักที่ ๒

- ผู้หนึ่งชื่อท้าวอีจาน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘)

   (อีจาน)

- พ่อขุนบางกลางหาวได้ชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์เพื่อพ่อขุนผาเมืองเอาชื่อตนให้แก่พระสหาย (ด้านที่ ๑ บรรทัดที ๓๔)

 (อินทรบดินทราทิตย์)

- พ่อขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์เพื่อพ่อขุนผาเมือง (ด้านที่ ๑ บรรทัดที ๓๕)

  (อินทรบดินทราทิตย์)

- สรรพญเดญาณอิงใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๗)

    (อิง)

- เป็นต้นว่า คนอีกแพะแลหมูหมาเป็ดไก่ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๖)

    (อีก)

- แบกอิด (อิฐ) แต่ต่ำขึ้นไปกระทำพระ(ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๔๑)

    (อิด)


จารึกหลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) 

- ธรรมชาดกอันอื่นใส้ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๘)

    (อันอื่น)

- จักมาพึ่งมาอิง (ด้านที่๒ บรรทัดที่ ๔๑)
     (อิง)


จารึกหลักที่ ๘ (เขาสุมนกูฏ)

- สาธุการบุชาอีกดุริยพาทย์พิณ  (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๙)

      (อีก)


จารึกหลักที่ ๖๒ (วัดพระยืน-พระสุมนเถระ)

- มีอินทรีย์อันสานต์ (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๕)

  (อินทรีย์)

- อีกทั้ง (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๖)
                           
  (อีกทั้ง)

- จึงให้เชิญฝูงมหาเถร (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕)

      (เชิญ)

ฯลฯ