วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

อักขรวิธีลายสือไทย


อักขรวิธีของลายสือไทย

          การวางสระไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะต้น โดยวางไว้ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะ (ไม่มีสระวางบนและล่างตัวพยัญชนะ) ซึ่งมีอักขรวิธีต่างกับอักษรไทยสมัยอื่นๆ และอักษรของเพื่อนบ้าน คือ อักษรของ อักษรมอญ รวมทั้งอักษรล้านนา และอักษรตัวธรรมของอีสาน จึงถูกกล่าวหาว่าลายสือไทยนั้นวางสระพิสดาร ผ่าเหล่าผ่ากอ ไม่เหมือนกับอักษรต้นแบบและอักษรเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่พัฒนามาจากอักษรอินเดียใต้ ที่เรียกว่า อักษรปัลลวะ หรือ อักษรคฤนถ์

          นักวิชาการหัวก้าวหน้าจึงสรุปว่า ลายสือไทยมีอักขรวิธีเหมือนอักษรฝรั่งที่ปัญญาชนไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ เพิ่งจะพบเห็น

          ฉะนั้นจะอยากจะอธิบายตัวอักษรและอักขรวิธีในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ถูกกล่าวหาว่ามีอักขรวิธีพิสดาร ผ่าเหล่าผ่ากอ โดยเฉพาะวางสระไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะซึ่งเป็นข้อพิรุธฉกรรจ์ที่สุดของศิลาจารึกหลักที่ ๑ และเป็นหลักฐานที่จะโน้มน้าวให้คนทั่วไปเชื่อเถือว่า เป็นอักษรไทยที่ผิดแบบแผน ที่วางสระต่างกับอักษรสมัยพระเจ้าลิไทและอักษรต้นแบบอื่นๆ ซึ่งมีอักขรวิธีแนวเดียวกัน คือวางสระไว้รอบพยัญชนะตันทั้งข้างหน้าข้างหลัง ข้างบนข้างล่าง แต่อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงกลับวางสระไว้หน้าและหลังพยัญชนะต้นบรรทัดเดียวกัน
คือ เหมือนอักษร ฝรั่ง หรือ อักษรโรมัน

          เรื่องอักขรวิธีของลายสือไทยที่ไม่ตรงกับอักษรต้นแบบคือ อักษรมอญ โบราญและขอมโบราณนั้น ความเป็นจริงแล้วถ้าเราศึกษาระบบอักขรวิธีอักษรต้นแบบทั้งสองจะพบว่ามีรูปสระ ๒ ชนิด และมีระบบการใช้แตกต่างกันคือ สระจม (รูปร่างและวิธีใช้เหมือนสระไทยปัจจุบัน และสมัยพระเจ้าลิไท) และสระลอย (ใช้ระบบเดียวกับสระพ่อขุนรามคำแหง) ซึ่งอาจจะอธิบายว่า สมัยพ่อขุนรามคำแหงเลือกใช้สระลอยแบบเดียว และนำมาใช้เป็นสระจมด้วยจึงต้องวางไว้บนบรรทัด เดียวกันกับพยัญชนะตามอักษรต้นแบบ ดังจะอธิบายต่อไปนี้ โดยใช้อักษรขอมเป็นตัวอย่าง และเลือกเฉพาะสระที่เป็นปัญหา

          ๑. สระสมัยพ่อขุนรามคำแหงมี ๒๐ ตัว วางไว้หน้าและหลังพยัญชนะ ดังนี้
              ๑.๑ วางสระอยู่หน้าพยัญชนะ ๑๐ ตัว คือ อิ อี อึ อื อุ อู เอ แอ โ ใ ไ
              ๑.๒ วางสระไว้หลังพยัญชนะ ๕ ตัว คือ อะ อา อำ อัว ออ
              ๑.๓ วางสระไว้หน้าส่วนหนึ่ง และหลังส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น รูปประสมของสระในข้อที่ ๑ และ ๒ จำนวน ๕ คือ (แอะ) (เอีย)
(เอือ) (เออ) (เอา)





          หากพิจารณารูปสัณฐานแล้ว พบว่ามีแปลกปลอมกว่าสระไทย (สมัยพระยาลิไท และปัจจุบัน) เพียง ๕ รูป ที่เป็นตัวปัญหา ซึ่งสระทั้ง ๕ รูป อักขรวิธีไทยปัจจุบัน วางสระไว้บนพยัญชนะ ๓ รูป (อิ อี อึ/อื) และวางไว้ล่างพยัญชนะ ๒ รูป คือ อุ อู

          สระทั้ง ๕ รูปนี้ ในอักษรขอมและมอญจะมีรูปสระจมและสระลอย สระจมจะวางไว้บนและล่าง พยัญชนะ บนบรรทัดเดียวกัน ฉะนั้นพ่อขุนรามคำแหงได้ปรับเปลี่ยน รูปสระทั้ง ๕ ตัว ให้สามารถวางไว้บนบรรทัด ดังตารางที่ ๒


ตารางที่ ๒



ตารางที่ ๒

          ฉะนั้นจะเห็นว่าสระที่มีปัญหาเพียง ๕ รูปนั้น พ่อ ขุนรามคำแหงนำมาไว้หน้าพยัญชนะเหมือนกับสระลอยเขมร (สระมอญ มีสระจม และสระลอย เช่นเดียวกับเขมร) เท่านั้น (หากรวมกับรูปสระประสมอีก ๒ รูป คือ เอีย และ เอือ เป็น ๗ รูป) อื่นๆ นั้นตรงกับสระสมัยพระยาลิไทและสระไทยปัจจุบัน

          ในกรณีนี้อาจจะสรุปได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปสระเพียง ๕ รูป (รวมกับสระประสมอีก ๒ รูป รวมเป็น ๗ รูป) โดยยึดแบบแผนจากสระลอยของเขมรและอักษรมอญ แต่เราดูเหมือนว่าแตกต่างไปมาก เพราะเหตุว่าภาษาไทยมีเสียงสระ ๕ รูป และสระประสมกับ อี อื  จำนวนมาก จึงดูว่าสระของเราวางไว้บน-ล่าง จำนวนมาก หากเราพิจารณาจำนวนแล้ว สระไทยปัจจุบันวางไว้หน้าพยัญชนะต้นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

          ฉะนั้นหากนักวิชาการไทยได้ศึกษาด้านอักษร (อักขรวิทยา) กันอย่างจริงจัง จะพบว่าตัวอักษรมีการคลี่คลายรูปสัณฐานไปทุกยุคทุกสมัย และเข้าใจที่มาของอักษรพ่อขุนรามคำแหง (ลายสือไทย) จะไม่เห็นว่าอักขรวิธีของลายสือไทยพิสดารแต่อย่างใด

สระสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ตกค้างอยู่ในอักขรวิธีสมัยพระยาลิไท

          จากการศึกษาศิลาจารึกสมัยพระยาลิไท และจารึกสมัยสุโขทัยที่สร้างสมัยหลังๆ พบว่าได้มีอักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงปะปนอยู่จำนวนหนึ่ง (หลายหลัก หลายแหล่ง) แสดงว่านักปราชญ์สมัยหลังพ่อขุนรามคำแหงยังใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงยังใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงจนเคยชิน
เมื่อพบคำที่ไม่ค่อยจะใช้ บ่อยนักโดยเฉพาะคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ มักจะเขียนด้วยสระสมัยพ่อขุนรามคำแหง แสดงให้เห็นว่านักปราชญ์เหล่านั้นเคยใช้อักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว  หากอักขรวิธีแบบลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงไม่เคยใช้กันมาก่อน ปัญญาชนไทยสมัยพระยาลิไทจะเขียนหนังสือผิดพลาดโดยใช้รูปสระของลายสือไทยได้ถูกต้องทุกแห่งอย่างไร
นั่นคืออักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงเคยใช้ก่อนสมัยพระลิไท ตัวอย่างเช่น

จารึกหลักที่ ๒

- ผู้หนึ่งชื่อท้าวอีจาน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘)

   (อีจาน)

- พ่อขุนบางกลางหาวได้ชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์เพื่อพ่อขุนผาเมืองเอาชื่อตนให้แก่พระสหาย (ด้านที่ ๑ บรรทัดที ๓๔)

 (อินทรบดินทราทิตย์)

- พ่อขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์เพื่อพ่อขุนผาเมือง (ด้านที่ ๑ บรรทัดที ๓๕)

  (อินทรบดินทราทิตย์)

- สรรพญเดญาณอิงใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๗)

    (อิง)

- เป็นต้นว่า คนอีกแพะแลหมูหมาเป็ดไก่ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๖)

    (อีก)

- แบกอิด (อิฐ) แต่ต่ำขึ้นไปกระทำพระ(ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๔๑)

    (อิด)


จารึกหลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) 

- ธรรมชาดกอันอื่นใส้ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๘)

    (อันอื่น)

- จักมาพึ่งมาอิง (ด้านที่๒ บรรทัดที่ ๔๑)
     (อิง)


จารึกหลักที่ ๘ (เขาสุมนกูฏ)

- สาธุการบุชาอีกดุริยพาทย์พิณ  (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๙)

      (อีก)


จารึกหลักที่ ๖๒ (วัดพระยืน-พระสุมนเถระ)

- มีอินทรีย์อันสานต์ (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๕)

  (อินทรีย์)

- อีกทั้ง (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๖)
                           
  (อีกทั้ง)

- จึงให้เชิญฝูงมหาเถร (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕)

      (เชิญ)

ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น